APQP 3rd Edition และ Control Plan 1st Edition มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง?
- Ruttakorn
- 29 มี.ค.
- ยาว 2 นาที
อัปเดตเมื่อ 30 มี.ค.

Advance Product Quality Planning (APQP) 3rd Edition และ Control Plan 1st Edition
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2024 AIAG ได้ประกาศใช้คู่มือของ Core Tool เล่มใหม่ โดยแยก APQP กับ Control Plan ออกจากกัน กลายเป็น Advance Product Quality Planning (APQP) 3rd Edition และ Control Plan 1st Edition
มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง?
ถึงแม้ว่าการประกาศใช้เล่มใหม่จะผ่านมาได้เกือบหนึ่งปีแล้ว แต่จากการ Audit ที่ผ่านมาในช่วงนี้ของผม กลับพบว่ายังมีหลายองค์กรที่ยังไม่เข้าใจถึงสิ่งที่เปลี่ยนแปลง และยังไม่ได้ปรับปรุงระบบขององค์กรให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าสิ่งที่เพิ่มเข้ามาใน Edition ใหม่นั้นมีประโยชน์มากกับองค์กร
ผมเลยถือโอกาสอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของ Edition ใหม่ทั้งสองเล่มนี้สั้นๆ ไว้สักหน่อย ถึงแม้ว่าจะช้าไปนิดหน่อย (หนึ่งปี) ก็ตาม
APQP
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
ปรับปรุงคำศัพท์และแนวคิดให้ทันสมัยและสอดคล้องกับเอกสารอื่นๆ เช่น IATF 16949, AIAG VDA FMEA, OEMs Manual
ปรับปรุงการตรวจสอบและทบทวน APQP ให้มากขึ้น
เพิ่มรายละเอียดของ Checklists ที่ใช้ใน APQP โดยมีตัวอย่างให้ใน Appendix A
เพิ่ม Gated Management โดยมีตัวอย่างให้ใน Appendix B
นำ Lesson learned และปัญหา จาก Project ในอดีตเข้ามาผสานกับกระบวนการ APQP
ปรับปรุงการประยุกต์ใช้ APQP เพื่อตอบสนองความต้องการอันมาจากกระบวนการผลิตที่เป็น Automation มากขึ้น, การมุ่งเน้นระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ, รถยนต์พลังงานไฟฟ้า และการขยายขอบเขตของความหมายของ การขับเคลื่อน “Mobility”
เพิ่มข้อกำหนดของ Safe Launch ไปยัง Production Control Plan เพื่อประยุกต์ใช้ในระยะเริ่มต้นของ Mass Production
เพิ่มรายละเอียดและหัวข้อ Output ของแต่ละ Phase ของ APQP
Appendix C เพิ่มวิธีการและเทคนิคในการวิเคราะห์ เช่น OEE, DVP, FMEA, Critical Path Method


Control Plan
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
ปรับปรุงคำศัพท์และแนวคิดให้ทันสมัยและสอดคล้องกับเอกสารอื่นๆ เช่น IATF 16949, AIAG VDA FMEA, OEMs Manual
นำ Lesson learned และปัญหา จาก Project ในอดีตเข้ามาผสานกับ Control Plan
ปรับปรุงการประยุกต์ใช้ Control Plan เพื่อตอบสนองความต้องการอันมาจากกระบวนการผลิตที่เป็น Automation มากขึ้น, การมุ่งเน้นระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ, รถยนต์พลังงานไฟฟ้า และการขยายขอบเขตของความหมายของ การขับเคลื่อน “Mobility”
เพิ่มข้อยกเว้น/ยอมรับ สำหรับ Control Plan ของระบบการผลิตแบบอัตโนมัติที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดด้านการจัดทำเอกสาร
เพิ่มเนื้อหาและคำบรรยายเกี่ยวกับความคาดหวังของ Safe Launch, Enhanced control/containment measure ที่ประยุกต์ใช้ในระยะเริ่มต้นของ Mass Production
มุ่งเน้นการใช้งาน Family และ Foundation Control Plan ซึ่งสอดคล้องไปกับ AIAG VDA FMEA ที่มุ่งเน้นให้ใช้ Family และ Foundation FMEA
อ่านมาถึงตรงนี้ ท่านใดที่มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน VDA 6.3 คงจะต้องมี "เอ๊ะ" ขึ้นมากันบ้างแล้ว ใช่ครับ โดยภาพรวม เหมือน APQP และ Control Plan จะปรับข้อกำหนดเข้าหา VDA 6.3 พอสมควรเลย
องค์กรไหนที่มีระบบที่สอดคล้องกับ VDA 6.3 อยู่แล้ว แทบจะไม่ต้องปรับอะไรเลย จากการเปลี่ยนแปลงนี้
ทำไมถึงต้องปรับปรุง Core Tools ทั้งสองเล่มนี้ล่ะ?
การปรับปรุงครั้งนี้หลักๆ เพื่อให้ Project Management ของชิ้นส่วนรถยนต์ตาม APQP มีความสอดคล้องกับมาตรฐานอื่นๆ และเข้ากับยุคสมัยมากขึ้น จะเห็นได้ว่าลูกค้า OEM หรือ Tier-n ลำดับต้นๆ ก็มักจะมีข้อกำหนดเหล่านี้อยู่แล้ว ดังเช่น
การจัดทำ Lesson Learned / Failure Catalog และความสำคัญในการนำมาใช้ตั้งแต่การออกแบบพัฒนา
การที่ต้องมีการทบทวนความคืบหน้าและระดับของความสำเร็จตามเป้าหมายของการออกแบบ (Gated Management) เพื่อพิจารณาว่าควรดำเนินการ Phase ต่อไป หรือควรย้อนกลับไปปรับปรุงการออกแบบ
การประเมินกระบวนการ APQP ของแต่ละ Project ด้วย Checklist
การนำแนวคิด Safe Launch หรือ อาจมีการเรียกชื่อที่ต่างกันไป เช่น Start Up Production / Early Production Control / Ramp Up Production / Control Shipment / และอื่นๆ เพื่อที่จะควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ในช่วงแรกของการผลิตจำนวนมาก
การอ้างอิงถึง Method / Tool ที่ควรใช้ในกระบวนการ APQP เช่น OEE สำหรับ Phase 4 และ Critical Path Method (CPM) เพื่อการวางแผนดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น
และยังปรับปรุงเพื่อมุ่งเน้นการใช้ Family หรือ Foundation Control Plan (ถ้าทำได้) เพื่อเป็นต้นแบบ แทนที่จะสร้าง Control Plan มาสำหรับทุกๆ Part Number ย่อยๆ แบบก่อน ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการองค์ความรู้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Family หรือ Foundation Control Plan หรือชื่ออื่นๆ เช่น generic, baseline, template, core, master, or best practice คือการสร้างต้นแบบสำหรับกระบวนการผลิตที่มีการควบคุมเหมือนกันหรือคล้ายกัน เช่น กระบวนการผลิตที่ใช้เครื่อง/กระบวนการเดียวกัน แต่แตกต่างแค่ขนาดหรือการควบคุมเพียงเล็กน้อยตาม Part Number
และยังมีการกล่าวถึงการใช้งานกระบวนการ APQP และการสร้างและใช้งาน Control Plan กับกระบวนการที่เป็น Fully Automation เช่น กระบวนการประยุกต์ใช้ MES - Manufacturing Execution System ในการควบคุมกระบวนการ ซึ่งการตัดสินใจและการควบคุมกระบวนการหรือเครื่องจักรจะเป็น feedback loop ระหว่าง ค่าที่อ่านได้จาก sensor หรือ equipment ต่างๆ กับระบบ MES ที่ถูกสร้างอยู่ใน MES ซึ่งไม่เหมาะสมกับการควบคุมในเอกสาร Control Plan แบบปกติ ซึ่งถ้าให้ลงรายละเอียดเรื่องนี้คงจะยาวเกินไป ไว้ผมจะเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกทีในอนาคตครับ
สิ่งที่องค์กรควรดำเนินการ
จากที่กล่าวมาข้างต้น สิ่งที่ถูกปรับปรุงมาใน version นี้ นั้นมีประโยชน์กับองค์กรอย่างแน่นอน และยังมีความทันสมัยมากขึ้น ซึ่งในอนาคตก็จะถูกถามและร้องขอจากลูกค้า OEM และ Tier-n ลำดับต้นๆ ลงมาอย่างแน่นอน
ดังนั้นองค์กรควรเพิ่มความรู้ความสามารถที่เกี่ยวกับ Core tools ทั้งสองเล่มนี้ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานและผู้ที่ต้องติดต่อกับลูกค้าโดยตรง ซึ่งอาจทำได้โดยการศึกษาจาก Handbook โดยตรง ซึ่งสามารถหาซื้อได้ทาง https://www.aiag.org/ และการฝึกอบรมโดยการประสานงานกับผู้มีความสามารถ เช่น ลูกค้า (SQE) หรือ สถาบันฝึกอบรมที่เชื่อถือได้ แล้วจึงนำไปประยุกต์ใช้กับระบบขององค์กรต่อไป
Comments